kept

อาการปวดหลังจากการยกของผิดวิธี

อาการปวดหลังจากการยกของผิดวิธี

อาการปวดหลัง ไม่ใช่เรื่องที่มีความสุขแน่ถ้าเกิดหลังจากการ ขนย้าย อาการปวดหลังสามารถเกิดได้กับคนในทุกเพศหลากหลายวัย ไม่เพียงแค่คนวัยชราเท่านั้น แต่กับพบมากขึ้นในคนวัยทำงาน โดยอาการปวดสามารถเกิดได้ทั้ง หลังส่วนบน บริเวณต้นคอ บ่าไหล่ หลังส่วนกลาง บริเวณกล้ามเนื้อลำตัว หน้าท้อง และหลังส่วนล่าง บริเวณใต้สะดือลงไปถึงก้นกบ หรือในบางกรณีจะมีอาการปวดร้าวบริเวณหลังขาบนร่วมด้วย ซึ่งอาการปวดหลังแต่ละจุด


เกิดมาจากสาเหตุที่แตกต่างกัน พฤติกรรม "ยกของหนัก" ด้วยท่าที่ไม่เหมาะสม นั่งหรือยืนทำงานไม่ถูกท่า ส่งผลต่อความเสื่อมของหมอนรองกระดูกให้ไวขึ้น เสี่ยงต่อโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ในที่นี้จะขอแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุหลักๆ ไม่ว่าจะปวดแบบเฉียบพลัน หรือปวดเรื้อรัง



อาการปวดหลังที่เกิดจากโรค


ยกตัวอย่างเช่น โรคเนื้องอกบางชนิด โรคกระดูกพรุนจากการขาดแคลเซียมสำหรับคนที่มีอายุมากขึ้น ส่วนสาเหตุหลักของการเป็นโรคกระดูกพรุน เกิดจากการขาดแคลเซียม ซึ่งเมื่อมีอายุมากขึ้นจะส่งผลให้กระดูกบางลง มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดกระดูกทรุด เปราะ หัก ได้ง่าย สำหรับอันตรายจากโรคกระดูกพรุนทำให้ ปวดหลัง หลังโก่งงอ เคลื่อนไหวลำบาก หายใจลำบาก ปอดทำงานได้ไม่ดี เหนื่อยง่าย มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นทุพพลภาพหรือเสียชีวิตเลยทีเดียว ซึ่งร้อยละ 90 ของผู้ป่วยไม่ทราบมาก่อนว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุน


โรคกระดูกพรุน


อาการปวดหลังที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา

ยกของหนักและผิดวิธี การยกของในท่าที่ไม่เหมาะสม การยกของหนักๆ ถือของหนักๆเป็นเวลานาน ก็สามารถส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังได้ หรือ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานๆติดต่อกัน การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย น้ำหนักตัวที่มากเกินไป


นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า หมอนรองกระดูก คือ เนื้อเยื่อที่มีลักษณะด้านนอกคล้ายยางรถยนต์ ส่วนด้านในจะมีลักษณะคล้ายวุ้นอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อตั้งแต่คอ อก จนถึงเอวทำหน้าที่เป็นข้อต่อรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง และมีหน้าที่ช่วยรับแรงกระแทกเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ยืน กระโดด บิดตัว และเพิ่มความยืดหยุ่นของการเคลื่อนไหว ในกรณีที่เกิดความเสื่อมของหมอนรองกระดูกตามอายุและการใช้งานจะทำให้รับน้ำหนักและยืดหยุ่นได้น้อยลงเกิดการปลิ้นและโป่งขึ้นของหมอนรองกระดูก จนไปกดทับเส้นประสาทที่อยู่โดยรอบแนวกระดูกไขสันหลัง เรียกว่า ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยปกติแล้วหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมักเกิดกับกลุ่มคนอายุมากแต่อาจเกิดในวัยหนุ่มสาวได้หากมีกิจกรรมที่ส่งผลต่อความเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่ไวขึ้น เช่น ยกของหนักด้วยท่าที่ไม่เหมาะสมนั่งหรือยืนทำงานที่ไม่ถูกท่าได้รับอุบัติเหตุหรือกระทบกระแทกรุนแรงที่กระดูกสันหลังออกกำลังกายหักโหม



โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การรักษามีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เป็นอยู่โดยเริ่มจากพักการใช้งานหลีกเลี่ยงการทำงานหนักหรือกิจกรรมที่ต้องใช้งานส่วนคอและเอวรุนแรงร่วมกับการทานยา เพื่อลดอาการอักเสบ ทำกายภาพบำบัด เพื่อให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดีขึ้นซึ่งจะใช้เวลาการพักฟื้นประมาณ 1 – 3 เดือน ในกรณีที่มีอาการรุนแรง อาจต้องผ่าตัดซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์



ยกของหนักที่ถูกวิธี


การป้องกันโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ส่วนการป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ไม่ยกของหนัก หรือยกของในท่าเดิม ๆ มากเกินไป ปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานทุกๆ 2 – 3 ชั่วโมงหมั่นออกกำลังกาย ทำกายบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นคอหลังและหน้าท้องไม่ควรมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ควรงดสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่จะทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกลดลง และเกิดการเสื่อมเร็วขึ้น และที่สำคัญหากมีอาการผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์



ข้อมูลจาก www.KEPT.co.th

#รับขนของ #รับย้ายบ้าน #บริการขนย้าย กรุงเทพ-ปริมณฑล #ย้ายบ้านทั่วไทย #ขนย้ายพร้อมทีมงาน

"เพราะเราเป็นมากกว่าแค่การขนย้าย"

สำหรับลูกค้าที่สนใจบริการย้าย สามารถติดต่อเข้ามาได้ตามช่องที่อยู่ด้านล่างเลยนะครับ

โทร. 087 030 8699, LINE ID: @klaakitgroup